25.02.2025

ในการสั่งฮ็อตแสตมป์จากโทคุอาเบะ จำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อให้การผลิตและการสั่งซื้อเป็นไปอย่างราบรื่นและตรงตามความต้องการของลูกค้า
โดยข้อมูลที่ครบถ้วนจะช่วยให้ทางบริษัทสามารถคำนวณราคาและระยะเวลาในการผลิตได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งมั่นใจได้ว่างานที่ได้รับจะตรงตามมาตรฐาน
ที่ตั้งใจไว้ ไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ ขนาด หรือวัสดุที่ใช้ในการผลิต
1. รูปทรงของชิ้นงานและตำแหน่งที่ต้องการพิมพ์
ในงานฮ็อตแสตมป์ (Hot Stamp) เนื่องจากผิวหน้าของแม่พิมพ์ ต้องใช้แรงกดลงไปบนผิวหน้าชิ้นงาน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้ผิวหน้าของแม่พิมพ์
และผิวหน้าของชิ้นงาน ประกบเข้ากันพอดี
– กรณีการทำจิ๊ก (Jig) เพื่อให้แม่พิมพ์กดลงไปที่ผิวชิ้นงานพอดี จึงมีความจำเป็นที่ผิวหน้าของชิ้นงานต้องขนานกับผิวหน้าแม่พิมพ์ ต้องสอบถามลูกค้าว่า
จะใส่ชิ้นงานลงไปในจิ๊กในลักษณะแบบไหน เพราะถ้าไม่ตรงกับเงื่อนไขของลูกค้า ก็มีความเป็นไปได้ที่จะต้องนำจิ๊กกลับมาแก้ไขใหม่
– การทำจิ๊กให้ขนานกับ Parting Line ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของชิ้นงานด้วย กรณีนี้อาจจะไม่ตรงกับเงื่อนไขที่ได้กล่าวไปแล้วด้านบน จึงแนะนำให้ทำจิ๊กโดยยึดผิวของแม่พิมพ์ และผิวของชิ้นงานเป็นหลัก
– การเกิดรอยบุบขึ้นระหว่างกระบวนการอัดฉีดพลาสติก เนื่องจากยางของแม่พิมพ์มีขีดจำกัดในการยืดหยุ่น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้แน่นอน
ในบางกรณีการแก้ปัญหารอยบุบที่เกิดขึ้นระหว่างการอัดฉีดพลาสติกแม้กระทั่งชิ้นงานที่เป็นผิวเรียบ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องผลิตแม่พิมพ์โดยเลียนแบบ
จากชิ้นงานจริงๆ
2. ความแข็งของยางแม่พิมพ์
โลโก้ (เช่น ตัวเลข หรือสัญลักษณ์) โดยทั่วไปจะใช้ความแข็งเบอร์ 90
สำหรับภาพทึบ ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ด้วย ซึ่งถ้าใช้ยางที่มีความแข็งต่ำกว่าเบอร์ 80 ตอนที่กดแม่พิมพ์ลงไป ตัวยางจะหนี จึงไม่แนะนำ
ถ้ายางของแม่พิมพ์นิ่ม จะทำให้เกิดปัญหาอย่างเช่น ยางบิดเบี้ยว ยางบี้ หรือทำให้เกิดปัญหาการยึดติดกับชิ้นงานไม่ดี ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง
ตรวจสอบเงื่อนไขให้ชัดเจน เช่น ความหนาและลักษณะของตัวชิ้นงาน วิธีการใส่ชิ้นงานลงไปที่จิ๊ก เป็นต้น
3. ประเภทวัสดุของชิ้นงาน
ไม่เป็นปัญหาสำหรับวัสดุชิ้นงานที่ยึดติดกับฟอยล์ได้ง่าย เช่น ABS หรือ PS แต่สำหรับวัสดุที่ยึดติดได้ยาก เช่น PP แนะนำให้ใช้แม่พิมพ์ทองเหลืองดีกว่า
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขด้วย หรืออาจจะแก้ปัญหาชิ้นงานที่ยึดติดได้ยาก ด้วยวิธีการจัดการกับผิวหน้าชิ้นงานก่อน
4. การทำหรือไม่ทำจิ๊ก
กรณีที่ชิ้นงานเป็นผิวเรียบ ไม่มีส่วนโค้ง ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีจิ๊ก ก็ไม่มีปัญหาส่งผลกับการทำโมลด์ แต่ถ้าผิวของชิ้นงานโค้งเว้า ต้องทำจิ๊กตามที่กล่าวเอาไว้
ในข้อ 1
5. ปัญหาแผ่นฟอยล์ไม่ติดกับชิ้นงาน
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยในการพิมพ์ฮ็อตแสตมป์ ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุการทำแม่พิมพ์ โดยใช้ข้อมูลอาร์ทเวิร์คจากตัวชิ้นงาน เนื่องจากตัวเรซิ่น
อาจเกิดการหด และบิดเบี้ยวได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการอัดฉีด (เช่น ฤดูกาล อุณหภูมิ ความชื้น เวลา เป็นต้น)
สำหรับการทำแม่พิมพ์ที่มีความโค้งเว้า ควรที่จะทำขึ้นให้พอดีกับชิ้นงานมากที่สุด แต่อาจจะด้วยปัญหาในเรื่องของเวลา ทำให้ไม่ได้รับตัวชิ้นงานจริงๆ
อาจจะแก้ไขปัญหานี้โดยการทำแม่พิมพ์ที่สามารถปรับได้ (มีความจำเป็นต้องมีการอบรม)
6. มุมของการแกะแม่พิมพ์
ลักษณะเด่นของแม่พิมพ์ยางฐานโลหะ คือสามารถปรับเปลี่ยนมุมของการแกะได้ ปกติจะประมาณ 30 องศา แต่ถ้าต้องการให้แม่พิมพ์ยางมีฐานมั่นคงมากขึ้น สามารถปรับเป็น 40 องศาได้ แต่จะกำหนดปรับมุมของแม่พิมพ์เพียงฝั่งเดียวเท่านั้น สำหรับแม่พิมพ์ยาง E-Rubber จะไม่สามารถปรับได้ มุมจะถูกกำหนดจากความหนาของแบบ หรือลวดลาย ดังนั้นในส่วนลวดลายที่แคบๆ จะใช้วิธีโดยปรับที่แม่พิมพ์เรซิ่น
7. การทำขั้น
ปกติสินค้าของบริษัทโทคุอาเบะ โดยพื้นฐานแล้วจะทำ 3 ขั้น แต่ก็ไม่ได้ใช้ได้กับทุกรูปแบบ โดยปกติแต่ละขั้นจะอยู่ที่ 0.5 มม.
วัตถุประสงค์เพื่อทำให้ฐานของตัวยางมั่นคงมากขึ้น แต่ในกรณีของแม่พิมพ์โลหะ (ทองเหลือง หรือ เหล็ก) จะทำเพียงขั้นเดียวเท่านั้น
8. ความสูงของขั้น
กรณีแม่พิมพ์ยาง โดยทั่วไปความสูงจะอยู่ที่ 1.5 มม. ถ้าทำให้สูงมากจนเกินไป จะทำให้ตัวยางบิดเบี้ยวหรือชำรุดได้ง่าย จึงไม่แนะนำ
แต่กรณีปรับเปลี่ยนตัวแม่พิมพ์ และชิ้นงานให้เหมาะสมแล้ว ก็สามารถทำให้ตัวยางสูงได้
นอกจากนี้ การกำหนดความสูงให้ไม่มากเกินไป ก็มีเหตุผลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากตัวยางมีการนำความร้อนที่ไม่ดี ปกติจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำตัวยางให้บางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และตอนที่สแตมป์งาน ตัวยางจะถูกตัวชิ้นงานดึงความร้อนไป จึงมีความจำเป็นต้องเว้นช่วงเวลาให้อุณหภูมิกลับมาสูงเหมือนเดิมก่อน จึงจะสามารถพิมพ์งานได้
ในบางกรณีก็ตั้งใจทำให้ตัวยางหนา (ความสูงของการแกะไม่เปลี่ยนแปลง) เพื่อที่จะรักษาความยืดหยุ่นไว้ แต่จะต้องตั้งอุณหภูมิให้สูงกว่าปกติ เนื่องจากต้องใช้แรงกดเวลาแสตมป์ ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานของยางสั้นลง ความหนาของยางสามารถปรับได้ตามที่ต้องการ สามารถปรึกษาเราได้
9. ความหนาที่เป็นไปได้ในการพิมพ์ฟอยล์ และความหนาของเส้นลายบนยาง
แม่พิมพ์ยาง โลหะ 0.06 มม. / แม่พิมพ์ยาง E-Rubber 0.08 มม. / แม่พิมพ์โลหะ ถึง 0
เป็นค่าที่แสดงผลบนแม่พิมพ์ ความหนาที่สามารถพิมพ์ฮ็อตแสตมป์ได้ (ใช้ฟอยล์) ไม่ว่าจะเป็นแม่พิมพ์ประเภทใด
ถ้าค่าความหนาบนเส้นแม่พิมพ์มากกว่า 0.08 มม. จะไม่เกิดปัญหาขึ้น แต่ก็จะแตกต่างไปตามเงื่อนไขด้วย อย่างเช่น ตามวัสดุ ลักษณะ ชิ้นงาน และรวมไปถึงประเภทของแผ่นฟอยล์ด้วย ถ้าไม่สามารถกำหนดได้ อย่างน้อยควรจะมีความหนา 0.1 มม. ขึ้นไป จะทำให้ไม่เกิดปัญหาขึ้น
10. การติดตั้ง
ขั้นตอนสุดท้ายของการทำแม่พิมพ์ คือ การติดตั้ง อย่างแรกต้องเจาะรูเพื่อติดตั้งกับเครื่องจักร โดยทั่วไปส่วนใหญ่จะใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้
– น๊อต M5 / M6 โดยทั่วไปจะใช้ 2 ประเภทนี้
นอกจากนี้ จะมีการขันน๊อตจากด้านหลังแผ่นความร้อน หรือการขันน๊อตจากผิวหน้าแม่พิมพ์ ซึ่งวิธีในการเจาะรูน๊อตก็จะแตกต่างกันไป
– กรณีขันน๊อตจากด้านหลังแผ่นความร้อน ด้านหลังของแม่พิมพ์จะเจาะรูน๊อต เบอร์ M5 หรือ M6 ความหนาของแผ่นอลูมิเนียม มีความจำเป็นต้องมากกว่า 15 มม. จะพบบ่อยในเครื่องจักรแบบ Up-Down
– กรณีขันน๊อตจากผิวหน้าแม่พิมพ์ ด้านหน้าของแม่พิมพ์จะเจาะรูน๊อต เบอร์ M5 หรือ M6 ความหนาของแผ่นอลูมิเนียมต้องมากกว่า 10 มม.
(เพราะหัวของน๊อตจะโผล่ออกมา) ใช้เยอะกับเครื่องจักรแบบหมุน เนื่องจากมีเครื่องจักรที่สามารถใช้ร่วมได้ทั้งแบบ Up-Down และแบบหมุน จึงควรที่จะ
ตรวจสอบเครื่องจักรให้แน่นอน
