ปัญหาในงานพิมพ์แพด (NG problem)

20.02.2025

ปัญหาในงานพิมพ์แพด (NG problem)

1. ปัญหาการเกิดรูเข็มในงานพิมพ์แพด)

รูเข็มบนงานแพด (Pinholes) หมายถึงตำหนิที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิมพ์แพด (Pad Printing) ซึ่งปรากฏเป็นรูหรือจุดเล็ก ๆ บนพื้นผิวของลวดลาย
หรือภาพที่พิมพ์ลงบนชิ้นงาน รูเข็มเหล่านี้สามารถส่งผลต่อคุณภาพของงานพิมพ์ ทั้งในด้านความสวยงามและประสิทธิภาพการใช้งานของผลิตภัณฑ์

สาเหตุของการเกิดรูเข็มในงานแพด

1. ปริมาณโซลเวนท์ที่ผสมมาก
วิธีการแก้ไขปัญหา : ลดปริมาณโซลเวนท์ที่ผสมลง ที่เอกสาร TSD (Technical Data Sheet) เขียนอัตราส่วนที่แนะนำไว้
ถ้าลูกค้าผสมโซลเวนท์ที่อัตราส่วน20% แนะนำลูกค้าให้ตรวจสอบการเก็บหมึก และการถ่ายหมึกของลูกยาง ที่อัตราส่วนโซลเวนท์ที่อัตราส่วน 5%-10%-15%
ถ้าการแห้งของโซลเวนท์แบบมาตรฐานดูแห้งช้า ให้ลองเปลี่ยนเป็นโซลเวนท์แบบแห้งเร็วแล้วทดสอบด้วยอัตราส่วนที่เขียนไว้ด้านบน

2. มีเศษผงติดหน้าลูกยาง
วิธีการแก้ไขปัญหา : ทำความสะอาดผิวหน้าลูกยางด้วยเทป

3. ลูกยางมียอดมุมป้าน
วิธีการแก้ไขปัญหา : ใช้ลูกยางยอดมุมแหลม ลูกยางยอดมุมป้าน เหมือนห่ออากาศเอาไว้ ลูกยางยอดมุมแหลม ยอดจะถึงแม่พิมพ์แพดก่อน
จากนั้นจะสัมผัสหน้าแม่พิมพ์เป็นลำดับโดยไล่จากตรงกลางไปด้านข้าง ดังนั้นอากาศจะเหมือนถูกกดออกไปข้างนอก

4. ลูกยางนิ่ม
วิธีการแก้ไขปัญหา : ใช้ลูกยางที่แข็งขึ้น ลูกยางยิ่งแข็ง ยิ่งกดเข้าไปในร่องกัดได้ง่ายขึ้น ทำให้ทำลายฟองอากาศในร่องกัดได้

5. หน้าลูกยางมีน้ำมัน
วิธีการแก้ไขปัญหา : ขัดหน้าลูกยาง ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 1500-2000

6. ลูกยางถึงอายุขัย (ผิวหน้าลูกยางไม่เรียบ ขรุขระ มีตำหนิ)
วิธีการแก้ไขปัญหา : เปลี่ยนลูกยางใหม่ หรือถ้าใช้ลูกยางฝั่งตรงข้ามได้ ให้กลับลูกยาง180 องศา แล้วลองใช้ดู

2. ปัญหารอยจากไฟเบอร์ (Fiber)

ไฟเบอร์ที่เกิดจากงานแพด (เส้นใยไฟเบอร์) หมายถึง ตำหนิที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิมพ์แพด ซึ่งปรากฏเป็นเส้นใยฟุ้งๆบริเวณรอบดีไซน์ที่พิมพ์ลงบนชิ้นงาน เส้นใยเหล่านี้สามารถส่งผลต่อคุณภาพของงานพิมพ์ ทั้งในด้านความสวยงามและประสิทธิภาพการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่จะเกิดตอนที่ลูกยางซิลิโคนเก็บหมึกขึ้นจากหน้าแม่พิมพ์แพด

สาเหตุของการเกิดไฟเบอร์ในงานแพด

1. หมึกเหนียว
วิธีการแก้ไขปัญหา : ใส่โซลเวนท์เพิ่ม

2. ความเร็วในการยกลูกยางเร็ว
วิธีการแก้ไขปัญหา : ปรับความเร็วในการยกลูกยางให้ช้าลง

3. เกิดไฟฟ้าสถิต
วิธีการแก้ไขปัญหา : กำจัดไฟฟ้าสถิต -ไฟฟ้าสถิตมักเกิดในสภาพอากาศแห้ง เพราะความชื้นต่ำช่วยให้ประจุไฟฟ้าสถิตสะสมได้ง่าย ดังนั้นการเพิ่มความชื้น
จะช่วยลดโอกาสเกิดไฟฟ้าสถิตบนวัสดุและในอากาศ

3. ดีไซน์แหว่ง

ดีไซน์แหว่ง คือลายพิมพ์ที่ไม่สมบูรณ์ ขาด หรือมีส่วนที่ดีไซน์หายไปหลังจากกระบวนการพิมพ์ ส่วนใหญ่เกิดตอนที่ลูกยางซิลิโคนเก็บหมึกขึ้น
จากหน้าแม่พิมพ์แพด กับตอนพิมพ์ลงบนชิ้นงาน

สาเหตุของการเกิดดีไซน์แหว่งในงานแพด

1. ลูกยางใหม่
วิธีการแก้ไขปัญหา : ขัดหน้าลูกยาง (แอคทิเวชั่นลูกยางใหม่)

2. หมึกเหนียว
วิธีการแก้ไขปัญหา : ใส่โซลเวนท์เพิ่ม

3. โซลเวนท์ระเหยเร็ว
วิธีการแก้ไขปัญหา : ใช้โซลเวนท์ระเหยช้า (เลือกที่ระเหยช้ากว่าเดิม 1 ขั้น)

4. ความลึกร่องกัดแม่พิมพ์ตื้น
วิธีการแก้ไขปัญหา : กัดแม่พิมพ์ให้ลึกกว่าเดิม (ต้องทำแม่พิมพ์ใหม่)

4. ดีไซน์เบี้ยว

ดีไซน์เบี้ยว คือ ลายพิมพ์ที่มีตำแหน่งหรือรูปร่างผิดเพี้ยนไปจากดีไซน์ที่ต้องการ อาจเกิดจากการจัดวางไม่ตรง การเคลื่อนตัวของวัสดุ หรือความผิดพลาด
ในกระบวนการพิมพ์

สาเหตุของการเกิดรอยเปื้อนในงานแพด

1. ลูกยางนิ่มเกินไป
วิธีการแก้ไขปัญหา : เพิ่มความแข็งของลูกยาง

2. ลูกยางแข็งเกินไป
วิธีการแก้ไขปัญหา : ลดความแข็งของลูกยาง

3. ขนาดลูกยางเล็ก (ลูกยางเปลี่ยนรูปมาก)
วิธีการแก้ไขปัญหา : ลองใช้ลูกยางที่ใหญ่ขึ้น (เพื่อลดการเปลี่ยนรูปของลูกยาง)

4. ทรงลูกยางแหลมเกินไป
วิธีการแก้ไขปัญหา : ลองใช้ลูกยางทรงที่ป้านกว่าเดิม

5. ตอนพิมพ์แพด ชิ้นงานที่อยู่บนจิ๊กเคลื่อน
วิธีการแก้ไขปัญหา : แก้ไขจิ๊ก

5. รอยเปื้อนในงานพิมพ์แพด

รอยเปื้อนในงานพิมพ์แพดคือลายพิมพ์ที่เลอะหมึก หรือมีหมึกเกินออกจากขอบของดีไซน์ ทำให้ลายดูไม่คมชัดและเสียความสวยงาม
ส่วนใหญ่เกิดตอนที่ลูกยางซิลิโคนเก็บหมึกขึ้นจากหน้าแม่พิมพ์แพด กับตอนพิมพ์ลงบนชิ้นงาน

สาเหตุของการเกิดรอยเปื้อนในงานแพด

1. ใส่โซลเวนท์มากเกินไป
วิธีการแก้ไขปัญหา : เพิ่มหมึก เพื่อลดอัตราส่วนโซลเวนท์

2. โซลเวนท์ระเหยช้าไป
วิธีการแก้ไขปัญหา : ใช้โวลเวนท์ระเหยเร็ว (เลือกที่ระเหยเร็วกว่าเดิม 1 ขั้น)

3. ความลึกแม่พิมพ์ลึกเกินไป
วิธีการแก้ไขปัญหา : ปรับความลึกให้เหมาะสม (ต้องทำแม่พิมพ์ใหม่)

4. หน้าลูกยางเสื่อม
วิธีการแก้ไขปัญหา : เปลี่ยนไปใช้ลูกยางใหม่

5. ความเร็วในการพิมพ์เร็วเกินไป (หมึกบนผิวหน้าลูกยังเปียกอยู่)
วิธีการแก้ไขปัญหา : ปรับความเร็วการพิมพ์ให้ช้าลง (ให้หมึกบนหน้าลูกยางแห้งกำลังดี)

6. เช็คว่าลูกยางแฉลบตอนกดบนแม่พิมพ์หรือบนชิ้นงาน
วิธีการแก้ไขปัญหา : เป็นไปได้ว่าลูกยางแข็ง ทำให้แรงกดมาก แนะนำให้ใช้ลูกยางที่นิ่มกว่าเดิม และลดแรงกด
– กรณีที่จำเป็นต้องกดมาก เพราะลูกยางขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับขนาดดีไซน์ ให้ลองใช้ลูกยางที่ขนาดใหญ่ขึ้น